ประเด็น วัคซีน (VACCINE) ลดความรุนแรงของอาการป่วยของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันนับว่าเป็นอีกประเด็นน่าสนใจอย่างมาก เพราะอย่างที่ทราบกันว่าผู้ผลิตวัคซีน คือผู้ที่มีอำนาจต่อรองมากที่สุด ส่วนผู้ซื้อถึงแม้ว่ามีเงินในมือมากแค่ไหน แต่กลับไม่สามารถกว้านซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในเวลานี้ได้ ด้วยเหตุผลหลายอย่างมากมายอาทิเช่นวัตถุดิบที่ต้องใช้เพื่อผลิตวัคซีนไม่เพียงพอ และอีกเหตุผลสำคัญก็คือความต้องการวัคซีนในปัจจุบันของมวลมนุษยชาติทั่วโลกมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนนำมาซึ่งภาวะของ “การขาดแคลนวัคซีน”

| VACCINE 4 ชนิด คือตัวแปรสำคัญต่อสู้โรคโควิด-19
แน่นอนว่า วัคซีน เปรียบเสมือนเพชรหายากในเวลานี้ เพราะอย่างที่ทุกชาติต่างรู้ดีกันดีว่า การซื้อ-ขายไม่ได้จบลงที่จ่ายเงินและเอาของไป แต่การซื้อและขาย วัคซีนป้องกันความรุนแรงโรคโควิด-19 จะต้องรอ นอกจากนั้นทุกยี่ห้อจะต้องเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะสายพันธุ์ไวรัสพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ ดังนั้นบางประเทศจำเป็นต้องหาสูตรฉีด หรือที่เราเพิ่งได้ยินกันมาสักพักใหญ่ในไทยว่า “การไขว้วัคซีน” ทั้งนี้เมื่อพูดถึงชนิดของวัคซีนในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ
1.เชื้อตาย (INACTIVATED VACCINE)
วัคซีนกลุ่มนี้ได้จากการนำไวรัสโรคโควิด-19 มาเลี้ยงและขยายพันธุ์จำนวนมาก จากนั้นทำให้เชื้อตายด้วยสารเคมีแล้วจึงนำมาผลิตวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายรู้จักสร้างภูมิคุ้มกันต่อรัดทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันมานาน จึงได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่วัคซีนชนิดนี้จะใช้เวลาผลิตนาน เพราะต้องใช้ความระมัดระวังสูง ถ้าทำให้มีผลผลิตช้าและราคาแพง ซึ่งปัจจุบันวัคซีนจาก เทคโนโลยีดังกล่าว มีสอง ยี่ห้อนั้นก็คือ ซิโนแวค (SINOVAC) และ ซิโนฟาร์ม (SINOFARM)
2.ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (RECOMBINANT VIRAL VECTOR VACCINE)
วัคซีนกลุ่มนี้จะได้จากการตัดแต่งหรือดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งรูปแบบที่ใช้กันในปัจจุบันอย่างเช่น นำ ไวรัสอะดีโน มาดัดแปลงพันธุกรรม จนไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก จากนั้นใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาลงไป ซึ่งหลังจากฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เหล่านี้จะทำหน้าที่เลียนแบบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาตามธรรมชาติ พร้อมกับกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันทั้งระบบแอนติบอดี ต่อไวรัสโคโรนาตามสารพันธุกรรมที่ใส่ลงไป อย่างไรก็ตามวัคซีนชนิดนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากว่า ไวรัสอะดีโน ยังมีชีวิตถึงแม้ว่าจะไม่แบ่งตัวอีกก็ตาม ซึ่งปัจจุบันมี AZTRAZENECA (AZ)

3.วัคซีนสารพันธุกรรม หรือ MRNA
วัคซีนพรุ่งนี้เป็นเทคโนโลยีสังเคราะห์สารพันธุกรรมรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส โดยเทคโนโลยี โดยวัคซีนที่ได้จากเทคโนโลยีนี้ จะนำพาสารพันธุกรรมแบบไม่เข้าสู่เซลล์และกำกับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ ซึ่งโปรตีนตัวนี้เสียงกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้าง แอนติบอดีต่อต้านเชื้อไวรัสขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันวัคซีนจากเทคโนโลยีนี้มี ไฟเซอร์ (PFIZER) และ โมเดอร์น่า (MODERNA)
4.วัคซีนได้จากโปรตีนของเชื้อ (PRTEIN SUBUNIT VACCINE)
วัคซีนชนิดนี้ ทั่วโลกคุ้นเคยกันมานานพอสมควร เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคหลายชนิดมาก่อน อาทิเช่น ไวรัสตับอักเสบบี และไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยวิธีการสร้างวัคซีนจะใช้โปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เกิดความเหมาะสม (CELL CULTURE), YEAST หรือ BACULOVIRUS เป็นต้น จากนั้นจะนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ โดยกระบวนการ ทำงานของวัคซีนเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโคโรนา ซึ่งปัจจุบันวัคซีนกลุ่มนี้ก็คือ NOVACAX

| แม้วัคซีนมีผู้ผลิตต่อเนื่องแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีผลิต วัคซีน มากถึง 4 รูปแบบ แต่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถ ได้รับวัคซีน อย่างเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในแต่ละประเทศ เนื่องจากว่าการผลิตวัคซีนในแต่ละครั้ง ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมต่อเนื่อง ทำให้วัคซีนที่ออกมาก่อนหน้ากลายเป็นวัคซีนที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือป้องกันความรุนแรงได้น้อยลง ซึ่งปัจจุบันสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาที่กำลังเป็นปัญหาของนานาชาติก็คือ สายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย เนื่องจากว่าเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกับการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาครั้งนี้ ถือว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติทั่วโลก ที่ทุกคนต้องร่วมมือกันดูแลตัวเองแม้ว่าจะ ฉีดวัคซีน แล้วก็ตาม จนกว่าจะมียาต้านและยาป้องกันการติดไวรัสตัวนี้ออกมาเป็นทางการ

ภาพจาก :
https://www.prachachat.net/general/news-654196
https://www.sanook.com/health/28541/